top of page

ตะวัน ศรีปาน

  • Writer: supakit2541
    supakit2541
  • Jan 8, 2016
  • 1 min read

ตะวัน ศรีปาน เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ที่จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรคนที่ 3 จากจำนวนบุตรทั้งหมด 4 คน ของนายสมจิตร และนางสมศรี ศรีปาน มีชื่อเล่นจริงๆ ว่า "ยา" แต่เพื่อนพากันเรียกว่า "แบน" เพราะสมัยเรียนตัดผมสั้นแล้วหัวแบน ตะวันเริ่มเข้ารับการศึกษาในชั้นอนุบาลถึง ป.6 ที่โรงเรียนแสงวิทยา ก่อนจะศึกษาต่อในชั้น ม.ต้น ที่โรงเรียนแก่งคอย จากนั้นได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยเทคนิคสระบุรีและจบการศึกษาปริญญาตรีจาก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคนนทบุรี

ด้านชีวิตส่วนตัว ตะวันสมรสกับวริทธิ์ธยาน์ เอมะศิริ พนักงานต้อนรับของการบินไทย โดยงานฉลองมงคลสมรสมีขึ้น เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ หอประชุมกองทัพเรือ การค้าแข้ง ตะวันเริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพให้กับ สโมสรราชวิถี และมาโด่งดังกับสโมสรธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จนก้าวขึ้นไปติดทีมชาติในยุคที่มีชัชชัย พหลแพทย์ เป็นกุนซือ โดยติดทีมชาติไทยเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2536 ในรายการปรี เวิลด์ คัพ ซึ่งแข่งขันที่ กรุงเทพมหานคร และมีผลงานที่สำคัญคือการนำทีมชาติชุด บี คว้าแชมป์คิงส์คัพ ประจำปี พ.ศ. 2537 และมาคว้าแชมป์รายการอินดิเพนเดนท์ แชมเปียนชิพ ปี พ.ศ. 2537, เหรียญทอง การแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่เชียงใหม่, ซีเกมส์ ครั้งที่ 19ที่อินโดนีเซียและซีเกมส์ ครั้งที่ 20 ที่บรูไน, รวมทั้งแชมป์ไทเกอร์คัพอีก 3 สมัย และอันดับที่ 4 การแข่งขันฟุตบอลในเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานคร

หลังจากที่สโมสรธนาคารกรุงเทพพาณิชยการถูกยุบทีม ตะวัน ศรีปานจึงย้ายไปเล่นในสิงคโปร์กับทีมเซมบาวัง เรนเจอร์สทีมเล็กๆ ในเอสลีก โดยตะวันถือเป็นหนึ่งในขวัญใจของแฟนบอลที่นั่น แต่ด้วยความที่ทีมยังมีศักยภาพไม่มากพอ จึงไม่อาจคว้าแชมป์ลีกมาครองได้สำเร็จ นักเตะตัวเก่งจึงทยอยย้ายออกจากทีม และตะวันก็ย้ายไปเล่นในเวียดนามกับทีมฮองอันห์ยาลายในวีลีก เป็นเวลาถึง 3 ฤดูกาล และช่วยให้ทีมคว้าแชมป์ลีกมาครองได้ 1 สมัย และได้รับการยกย่องให้เป็น สุดยอดกองกลางของอาเซียน

ปี 2545 ตะวันได้รับรางวัลเชียร์ไทยอวอร์ด ในฐานะ "นักฟุตบอลยอดนิยม" จากเว็บไซต์ cheerthai.com ซึ่งเป็นรางวัลที่ให้คะแนนจากการโหวตจากแฟนฟุตบอลไทย

หลังหมดสัญญากับฮหว่างอัญซาลาย ตะวัน ศรีปานกลับมาเล่นในเมืองไทยอีกครั้งกับทีมบีอีซี เทโรศาสน ในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2007 โดยรับตำแหน่งกัปตันทีมและพาสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับ 3 ในฤดูกาล2007และ2008

ตะวัน มีบุคลิกส่วนตัวที่ค่อนข้างใจเย็น ไม่เคยโมโหหรือลุกขึ้นมาโวยวายเพื่อนร่วมทีม และมีน้ำใจนักกีฬาสูง โดยหลังเกมส์ ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ ตะวันก็พร้อมลุกขึ้นมาจับมือกับคู่แข่งเสมอ ส่วนนอกสนาม ตะวันมีความเป็นกันเองกับแฟนบอลมาก จะยิ้มให้และยอมให้ถ่ายรูปเสมอ จึงได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษลูกหนังของเมืองไทย" โดยการรับใช้ชาติในช่วงหลังๆ ตะวันได้รับตำแหน่งกัปตันทีมโดยได้สวมปลอกแขนกัปตันทีมครั้งแรกในเกมส์ที่ไทยชนะจีน 1-0 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 และทำหน้าที่ดังกล่าวจนเลิกเล่นทีมชาติ

ตะวัน ศรีปานเลิกเล่นให้ทีมชาติหลังจากทีมชาติไทยตกรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกรอบ 20 ทีม ในปี 2551 หลังจากที่โอมานชนะไทย 2-1 ซึ่งตะวันเป็นคนยิงประตูขึ้นนำให้กับทีมชาติไทย

วันที่ 28 มีนาคม 2552 ตะวันหวนกลับคืนสู่ทีมชาติอีกครั้ง ในเกมส์เทสติโมเนี่ยลแมตช์ซึ่งเป็นการเล่นให้ทีมชาติเป็นนัดสุดท้าย โดยทีมชาติไทยอุ่นเครื่องกับนิวซีแลนด์ ซึ่งไทยชนะไป 3-1 โดยตะวันเป็นผู้ยิงประตูที่ 2 ให้ทีม และถูกเปลี่ยนตัวออกในนาทีที่ 31 เพื่อให้ดัสกร ทองเหลา ลงเล่นแทน ในระหว่างพักครึ่งตะวันได้มอบพวงมาลัยให้แก่ผู้มีพระคุณของตน รวมทั้งพ่อและแม่ของตัวเองด้วย

โดยสถิติการลงสนามให้ทีมชาติไทยชุดใหญ่ของตะวัน ศรีปาน ที่ฟีฟ่าให้การรับรองอยู่ที่ 109 นัด และยิงให้ทีมชาติชุดใหญ่ 19 ประตู

 
 
 

Comments


 THE ARTIFACT MANIFAST: 

 

This is a great space to write long text about your company and your services. You can use this space to go into a little more detail about your company. Talk about your team and what services you provide. Tell your visitors the story of how you came up with the idea for your business and what makes you different from your competitors. Make your company stand out and show your visitors who you are. Tip: Add your own image by double clicking the image and clicking Change Image.

 UPCOMING EVENTS: 

 

10/31/23:  Scandinavian Art Show

 

11/6/23:  Video Art Around The World

 

11/29/23:  Lecture: History of Art

 

12/1/23:  Installations 2023 Indie Film Festival

 FOLLOW THE ARTIFACT: 
  • Facebook B&W
  • Twitter B&W
  • Instagram B&W
 RECENT POSTS: 
 SEARCH BY TAGS: 

© 2023 by The Artifact. Proudly created with Wix.com

  • Facebook B&W
  • Twitter B&W
  • Instagram B&W
bottom of page